การส่งสินค้าทางทะเล นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการส่งสินค้า ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตเชื่อว่าการส่งสินค้าทางน้ำเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และค้าขายในโลกอย่างแน่นอน เพราะเป็นรูปแบบของการส่งสินค้าแบบเดียวที่ส่งได้ครั้งละมากๆ มีต้นทุนในการเดินทางต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าที่ขนส่ง ในไทยการขนส่งทั้งขาเข้าและออก เน้นไปที่การส่งออกทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ การขนส่งทางน้ำนั้นมีอิทธิพลต่อการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกอย่างมาก ซึ่งการขนส่งทางทะเลนั้นก็ต้องมีขั้นตอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ
– เจ้าของเรือ (Ship Owner) คือ ผู้ที่ซื้อเรือมาจากบริษัทที่สร้าง และพัฒนาเรือ โดยการซื้อและทำการจดทะเบียนเพื่อนำมาประกอบธุรกิจ
– ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer) คือ ผู้ที่ทำการเช่าเรือจากผู้ซื้ออีกที มีการทำสัญญาเช่าเป็นรายวัน เดือน หรือปี เพื่อนำมาส่งสินค้า
– ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder) คือ ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอำนาจ จากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดำเนินการ แทนเจ้าของเรือ ณ เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง
– ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter) คือผู้ที่ส่ง นำฝาก สินค้าเพื่อขนส่งไปที่ปลายทาง
– ผู้รับตราส่ง (Consignee) คือ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ ๆ คอยจัดการนำส่งให้กับผู้รับที่ปลายทาง
– ผู้รับสินค้า (Notify Party) คือผู้ที่รอรับสินค้าที่ปลายทาง
ข้อดีการขนส่งทางน้ำ
-ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ เพราะเรือมีขนาดใหญ่ และใช่พลังงานขับเคลื่อนต่อน้ำหนักต่ำ
-ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ๆได้ สามารถรองรับสินค้าได้เกือบทุกชนิด
-มีความปลอดภัยมากเพราะใช้ความเร็วต่ำ และมีระบบการจัดการภายในที่ดีจึงทำให้สินค้าปลอดภัยไม่เสียหายระหว่างขนส่ง
ข้อเสียการขนส่งทางน้ำ
-ใช้ระยะเวลายาวนานในการเดินทาง หากขนส่งไปต่างประเทศอาจต้องใช้เวลา 15-30 วัน
-ต้องส่งสินค้าในปริมาณที่มาก เพราะถ้าส่งน้อยจะไม่คุ้มกับค่าขนส่ง
-ต้องมีการขนถ่ายสินค้าหลายขั้นตอน โดยทั่วไปเรือไม่สามารถเข้าถึงจุดรับส่งสินค้า หรือท่าเรือได้