5 ระบบโลจิสติกส์ หรือ ระบบขนส่งระหว่างประเทศที่ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน
หากว่าคุณนั้นเป็นหนึ่งในผู้ที่เคยทำการซื้อของออนไลน์ หรือสินค้าพรีออเดอร์ต่างๆ หรือเคยที่จะทำการส่งสินค้า ไปให้คนที่อยู่ในต่างประเทศ คงจะทราบดีเลยแหละว่า ระบบการขนส่งระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี้คือช่องทางที่จะสามารถช่วยให้เรานั้น รับ หรือ ส่ง สิ่งของ เหล่านี้ผ่านผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทั้งหลายได้อย่างสะดวกสบาย และยิ่งมี ความสำคัญต่อภาคธุรกิจของไทยที่ต้องมีการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศด้วย

ระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistic Service ) คือ
ระบบการวางแผนงานและควบคุมกระบวนการในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้าจากประเทศหนึ่ง ไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ตามความต้องการหรือข้อตกลงของคู่ค้านั้นเอง ซึ่งจะอยู่ภายใต้ ข้อบังคับ และกฎหมายที่ได้ทำการตกลงกันไว้ และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GPD ภายในประเทศนั้นสูงมากยิ่งขึ้น ภาครัฐจึงมีการสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อให้เอกชนนั้น สามารถที่จะบริหารและจัดการสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการส่งเสริมศักยภาพในด้านของการแข่งขัน สำหรับการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันนั้นบริการขนส่งระหว่างประเทศ มีตั้งแต่ในเรื่องของการจัดการเส้นทางในการส่งสินค้า ไปจนถึงงานที่ไม่มีความซับซ้อน เช่น การจองระหว่างเรือให้แก่เจ้าของสินค้า ไปจนถึงการบริการบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการจัดการทางด้านของขนส่งที่ครบวงจร กระบวนการในการจัดจำแนกสินค้าไปอย่างที่ต่างๆ
โดยจะมีระบบในการขนส่งดังนี้
1. การขนส่งโดยเรือ – เป็นช่องทางในการขนส่งเพื่อข้ามแดนในรูปแบบที่ประหยัดต้นทุนที่สุด เหมาะสมกับการขนส่งคราวละมากๆ และเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย ระยะทางไกล ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เนื่องจากเรานั้นไม่สามารถที่จะคาดเดาเวลาในการขนส่งที่แน่นอนได้ เพราะในบางครั้งเองก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้า เช่น พายุเข้า คลื่นลมทะเลที่มีความไม่แน่นอนส่งผลต่อการเดินทาง เป็นต้น สินค้าประเภท วัตถุดิบ ส่วนประกอบเครื่องจักร ปัจจุบันนิยมขนส่งทางเรือ ระบบคอนเทนเนอร์
2. การขนส่งโดยเครื่องบิน – เป็นบริการในการขนส่งข้ามประเทศที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง แต่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นช่องทางการขนส่งข้ามประเทศที่สะดวกและรวดเร็วมากที่สุด เหมะสมกับการขนส่งที่เร่งด่วน หรือสินค้าในประเภทชำรุดหรือสูญหายได้ง่าย ซึ่งสินค้าที่จัดส่งนั้นควรมีปริมาณน้อย เช่น อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผักผลไม้ ขนม เครื่องประดับ
3. การขนส่งโดยรถบรรทุก – เหมาะกับการขนส่งข้ามประเทศในประเทศที่ใกล้เคียง เช่น พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เพราะเป็นการขนส่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็วไปถึงเป้าหมายได้ตามกำหนด และยังสามารถที่จะส่งไปถึงมือผู้รับได้โดยตรง
4. การขนส่งทางรถไฟ – เหมาะสมกับการขนส่งสินค้าในประเภทที่มีน้ำหนักมาก ปริมาณเยอะ ไปยังประเทศใกล้เคียง เป็นบริการขนส่งที่อัตราบริการนั้นไม่แพง และมีการกำหนดเดินทางรวมทั้งถึงจุดหมายปลายทางที่แน่นอน มีความปลอดภัยในด้านของการเสียหายของสินค้า ส่วนใหญ่นั้นสินค้าที่ส่งผ่านทางรถไฟ จะเป็น น้ำมัน และปูนซีเมนต์
5. ขนส่งทางท่อ – เป็นการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากสินค้านั้นต้องอยู่ในรูปแบบของเหลว เช่น น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และก๊าซจากธรรมชาติ เป็นต้น และ เหมาะสำหรับการขนส่งไปยังประเทศที่อยู่ใกล้เคียง บริเวณท่อที่ใช้ผ่านนั้นต้องมีความชันไม่มาก เพื่อที่จะไม่ให้ของเหลวนั้นมีการไหลย้อนกลับ และจะมีเพียงขนส่งในขาไปเท่านั้นจะไม่มีการขนส่งในขากลับ