ทำไมสินค้าอันตรายถึงต้องใช้การขนส่งทางเรือ

การขนส่งทางเรือ

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันโลกของเราเป็นโลกที่ไร้พรมแดน การจะทำอะไรก็เป็นเรื่องที่ง่ายแม้จะเป็นการขนส่ง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็สามารถที่จะแลกเปลี่ยนซื้อขายสอนค้ากันได้อย่างอิสระ แต่ในการขนส่งก็ยังมีการขนส่งอีกประเภทหนึ่งที่เป็นการขนส่งที่อันตรายหากเกิดอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดก็จะกระทบต่อผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่จะขนส่งทางไหนให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่อผู้คนให้น้อยที่สุด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกฎและข้อห้ามต่างๆที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายกัน สารอันตรายที่ว่าคืออะไรและมีอะไรบ้าง สารอันตรายก็คือสารเคมี ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตหากได้รับไปในปริมาณมากตามที่ระบุไว้ IMDG (International Maritime Dangerous Goods)ที่ผู้ประกอบการจะนำมาใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมก็มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าสารเคมีมาใช้ในการประกอบอาชีพ แต่ซึ่งนอกจากภาคเกษตรกรรมก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกมากมาย เมื่อเราต้องการที่จะใช้สารเคมีหรือสารอันตรายจำนวนมาก วิธีที่ดีที่สุดในการขนส่งสินค้าจำนวนมากและราคาถูก ก็เห็นจะเป็นวิธีการขนส่งทางเรือ แต่ในการขนส่งทางเรือก็ตามก็จะวิธีที่ขนส่งวัตถุดิบอันตรายก็จะมีการขนส่งที่แตกต่างออกไป ตัวสารอันตายแม้จะเจือจางหรือมีปริมาณน้อยแต่ก็ต้องรอบครอบระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการร่วมมือกันของฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มาทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้ทั้งผู้รับ ผู้ส่งสินค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องให้ได้สินค้าที่ปลอดภัยที่สุดและได้รับสินค้าอย่างปลอดภัย และในการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลีกเลี่ยงผู้คนหากเกิดอันตรายจากสารเคมีรั่วไหลหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น นอกจากนี้สารเคมีที่รั่วไหลจะอยู่ห่างไกลจากผู้คนและพื้นที่ท้องทะเลจะสามารถเจือจางในน้ำทะเลจนไม่เกิดผลกระทบมากนัก หากเทียบกับการขนส่งทางบกและทางอากาศเนื่องจากทั้งสองวิธีที่กล่าวมาเป็นพื้นที่สามารถจะแพร่กระจายสารอันตรายออกไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่ายและยากต่อการควบคุมการกระจายของสารอันตรายได้ยากกว่า นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อมแล้วก็ยังอาจทำให้เกิดความสูญเสียของชีวิตมากขึ้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็จะทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตเพราะให้การขนส่งหากเราเน้นแต่ความรวดเร็วและเน้นปริมาณในการขนส่ง หากในการขนส่งครั้งนั้นเกิดปัญหาก็จะทำให้เกิดความสูญเสีย ซึ่งนั่นก็ไม่คุ้มเลยกับผลลัพธ์ที่เราได้แต่หากเราใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อยเกี่ยวกับการขนส่งก็จะสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

ก้าวทันการขนส่งทางเรือของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยแล้วการขนส่งทางเรือเป็นทางเลือกอันดับต้นๆของการคนส่งสิ้นค้าออกนอกประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่าการขนส่งทางเรือสามารถที่จะขนครั้งละมากๆ มีต้นทุนที่ต่ำ ประเทศไทยถ้าวัดการขนส่งทางเรือกับทั่วโลกแล้วอยู่ในอันดับที่ 22 ปริมาณการเดินเรือสิ้นค้ามีจำนวนถึง 4,200 ล้านตัน ต่อปี คิดเป็นมูลค่าการส่งออกการค้าโลกถึง 20 % จากการสำรวจของเรือคอนเทนเนอร์ที่เข้ามาเทียบท่าที่ประเทศไทยต่อปีถึง 5,900,000 ตู้คอนเทนเนอร์  โดยมีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือ ท่าเรือแหลมฉบังเป็นที่หลักในการขนส่งสิ้นค้า จำนวนเรือที่เทียบท่าปีละ 10,526 ลำมีการขนส่งสิ้นค้าถึง 80 ล้านเมตริกตัน ซึ่งหลักๆเป็นการขนส่งรถหลานแสนคัน ทางเรือขนส่งของสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลโดยอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งมีการพัฒนาทางเรือแคลง หรือ Port Klang ประเทศที่เป็นทางผ่านของศูนย์กลางการเดินของที่น่าสนใจอีกหนึ่งประเทศก็คือ มาเลเซีย โดยมีทางเรือแคลงเป็นทางเรื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เปิดรับเรือขนส่งคอนเทนเนอร์ และสิ้นค้าต่างๆที่ทำการขนส่งทางเรือทั้งหมดจากเหตุผลนี้ทำให้ทางเรือนี้ติดอยู่ในอันดับที่  14 ของโลก ในเวลา 20 ปี ตู้คอนเทนเนอร์ที่เข้าออกทางเรือนี้มีจำนวนถึง 10 ล้านตู้ต่อปี ทำให้ประชากรของประเทศมาเลเชียมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ซึ่งประเทศไทยก็ได้ประโยชน์จากการขนส่งของสองประเทศนี้ โดยประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าบริหารจัดการส่งถึง 90 % ลดความสูญเสียด้านการขนส่งถึง 2.6ล้านบาท

การขนส่งสินค้าทางเรือ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง

การส่งสินค้าทางทะเล นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการส่งสินค้า ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคตเชื่อว่าการส่งสินค้าทางน้ำเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และค้าขายในโลกอย่างแน่นอน เพราะเป็นรูปแบบของการส่งสินค้าแบบเดียวที่ส่งได้ครั้งละมากๆ มีต้นทุนในการเดินทางต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าที่ขนส่ง ในไทยการขนส่งทั้งขาเข้าและออก เน้นไปที่การส่งออกทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ การขนส่งทางน้ำนั้นมีอิทธิพลต่อการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกอย่างมาก ซึ่งการขนส่งทางทะเลนั้นก็ต้องมีขั้นตอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ – เจ้าของเรือ (Ship Owner) คือ ผู้ที่ซื้อเรือมาจากบริษัทที่สร้าง และพัฒนาเรือ โดยการซื้อและทำการจดทะเบียนเพื่อนำมาประกอบธุรกิจ – ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer) คือ ผู้ที่ทำการเช่าเรือจากผู้ซื้ออีกที มีการทำสัญญาเช่าเป็นรายวัน เดือน หรือปี เพื่อนำมาส่งสินค้า – ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder) คือ ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอำนาจ จากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดำเนินการ แทนเจ้าของเรือ ณ เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง – ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter) คือผู้ที่ส่ง นำฝาก สินค้าเพื่อขนส่งไปที่ปลายทาง – ผู้รับตราส่ง (Consignee) คือ บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ ๆ …