หลายคนอาจจะสงสัยว่าในการส่งของมาจากต่างประเทศนั้นเราต้องมีการเสียภาษีหรือไม่
ต้องตอบก่อนเลยว่า ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งของนั้นคืออะไร มีมูลค่ามากหรือน้อยแค่ไหน ชิ้นเล็กหรือใหญ่ เพราะสินค้าในแต่ละประเภทนั้นจะมีอัตราของภาษีอากรที่แตกต่างกันออกไป ถ้ามาจากการขนส่งในจำพวก Priority mail นั้น หากมีการเสียภาษีจะมีใบจากทางขนส่งให้เรานั้นไปทำการชำระ แต่หากจัดส่งมาแบบ Couriere แล้วละก็ โดยส่วนมากแล้วจะได้รับการยกเว้นภาษีอากร หรือหากต้องจ่ายก็จะเป็นในส่วนของ Vat 7 % นั้นเอง
การส่งของมาจากต่างประเทศนั้นจะต้องมีการ นำเข้าสินค้ามาสู่ประเทศไทยของเรา โดยผ่านพิธีการทางศุลกากรที่จะต้องมีการตรวจสอบสินค้าหลังจากที่มีการนำเข้ามาในประเทศ ซึ่งในต่างประเทศก็เช่นกันจะต้องมีการตรวจสอบสินค้าของเราก่อนการส่งออกสู่ภายนอกประเทศ ในทางภาษีนั้นสำหรับส่วนนี้ จะแบ่งการเสียภาษีออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน นั้นคือการขายและการบริการ การขายนั้น จะเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน สินค้าไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม แต่ในด้านของการบริการนั้น จะเป็นประโยชน์ในส่วนอื่นที่ไม่ใช่การขาย ซึ่งธุรกิจใน 2 รูปแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทที่นำเข้าสินค้ามาให้เป็นตัวกลาง หรือ บริษัทที่สั่งสินค้าเพื่อจัดจำหน่าย กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมศุลกากร ก็จะมีการพิจารณาในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไปนั้นเอง
ในส่วนของการนำเข้าสินค้ามาเพื่อการบริการ ก็จะมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรหรือที่เรียกกันว่า Vat อยู่ที่ 7% ซึ่งต้องมีการยื่นชำระภาษีแบบ ภ.พ. 36 ในรอบเดือนถัดไป แต่ถ้าผู้ใช้บริการไม่ได้มีการจดทะเบียนในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้น ผู้ให้บริการนั้นจะเป็นผู้จัดการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ที่ต้องมีการเสียภาษี และอีกรูปแบบหนึ่งนั้นก็คือการเสียภาษีในรูปแบบของภาษีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย การที่จะถูกตรวจสอบโดยกรมศุลกากรนั้น จะถูกตรวจสอบโดยพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ว่าเป็นของที่มีมูลค่าหรือไม่
โดยมูลค่าของสิ่งของนั้นก็จะมีผลกับภาษีที่จำเป็นต้องชำระด้วย การประเมินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร เมื่อประเมินภาษีเรียบร้อย สิ่งของอาจจะถูกกักโดยศุลกากร หลังจากนั้นก็จะมีการส่งเข้าระบบงานของทางไปรษณีย์หรือระบบขนส่งที่เกี่ยวข้องตามปกติ โดยอาจจะมีการเรียกเก็บภาษีอากร หรือไม่เรียกเก็บนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคำสั่งของทางด่านศุลกากร หากผู้ที่ได้รับการเรียกเก็บภาษีอากรนั้นมีความเห็นว่าการประเมินภาษีสูงเกินกว่าความเป็นจริงก็สามารถที่จะยื่นทำเรื่องเพื่อขอการอุทธรณ์เพื่อให้มีการพิจารณาเพื่อขอภาษีใหม่ได้ ภายใน 30 วัน หลังจากที่มีการเรียกเก็บภาษี
ยกตัวอย่างการเรียกเก็บภาษี หากสิ่งของนั้นมีมูลค่าที่ไม่สูงเกินไปเช่นอยู่ในเกณฑ์ของสินค้ามูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท หรือสิ่งของนั้นเจ้าหน้าที่ประเมินแล้วปล่อยผ่านไม่ต้องมีการจัดเก็บภาษี พัสดุนั้นก็จะสามารถส่งมาที่บ้านได้เลยผ่านขนส่งที่ให้บริการ แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้พิจารณาแล้วว่าต้องมีการเรียกเก็บภาษี ถ้าจัดส่งมาแบบ Courier เช่นบริการขนส่งของ fedEX สินค้าหรือของชิ้นนั้นจะสามารถส่งตรงมาให้ที่บ้านของผู้รับพร้อมบิลเรียกเก็บภาษีได้เลย แต่หากเป็นการขนส่งของไปรษณีย์หรือขนส่งโดยธรรมดาทั่วไป จะมีใบแจ้งระบุจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปให้ที่บ้านของผู้รับและต้องทำการไปเสียภาษีพร้อมรับสินค้าเองที่ขนส่งนั้น ที่มีการได้ระบุไว้ในใบแจ้ง กับในอีกกรณี คือจะมีใบแจ้งส่งมาให้เพื่อให้ผู้รับนั้นไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วยตนเอง เพื่อเสียภาษี ที่ด้านศุลกากร ตามที่ได้มีการระบุไว้ในใบแจ้ง อย่างในจังหวัดกรุงเทพมหานครนั้น ก็จะเป็นกรมศุลกากรไปรษณีย์ ที่เขตหลักสี่ เป็นต้น